วันพุธที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2553

ร้าน Step ประตูน้ำ






Step ประตูน้ำ

รับทำตาม Order-ปลีก ส่ง เสื้อผ้าแฟชั่น
ร้าน Step ประตูน้ำ รับสกรีนเสื้อ ลายต่างๆ รับทำงานทุกรูปแบบ
ร้านอยู่ที่ซอย เพชรบุรี19 First Plaza เยื้องห้าง Platinum
เข้าซอยประมาน100เมตร First Praza room 62/6

วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ประวัติผู้จัดทำ

ประวัติผู้จัดทำ

นายณภัทร ภูวกิจวรากร
มหาวิทยาลัยราวภัฏสวนสุนันทา

นิเทศศาสตร์การโฆษณา 49163303013

เกิด 24 ก.ค.21 อายุ 31

สนามเหย้าของทีมชาติไทย


ราชมังคลากีฬาสถาน

ราชมังคลากีฬาสถาน (อังกฤษ: Rajamangala National Stadium) เป็นสนามกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย [1] โดยเป็นสนามหลักภายในสนามกีฬาหัวหมาก สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาส พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๐ และ พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑ แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2541 เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่กรุงเทพมหานครเป็นเจ้าภาพ
ความสามารถในการรองรับผู้เข้าชมภายในอาคาร จำนวน 80,000 คน ความสามารถในการรองรับผู้เข้าชม (อัฒจันทร์) จำนวน 49,749 ที่นั่ง เป็นเก้าอี้นั่งทั้งหมด ภายในมีสนามฟุตบอลขนาดมาตรฐาน ลู่วิ่ง ลานกรีฑา และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ
ราชมังคลากีฬาสถาน เป็นสนามเหย้าของฟุตบอลทีมชาติไทย และใช้จัดการแข่งขันฟุตบอลนัดสำคัญต่างๆ มากมาย นอกจากนี้ยังใช้จัดคอนเสิร์ตกลางแจ้ง และการถ่ายทำภาพยนตร์ เป็นต้น ขอบคุณ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เกร็ดความรู้เรื่องฟุตบอล


** เกร็ดความรู้ **
การยิงลูกโทษเกิดขึ้นครั้งแรกจากความคิดของผู้รักษาประตูชาวไอร์แลนด์ วิลเลียม แม็คครูม (William McCrum) ในปี พ.ศ. 2433 (ค.ศ. 1890) โดยได้เสนอไอเดียกับ สมาคมฟุตบอลไอร์แลนด์ และได้มีการเสนอความคิดนี้ต่อให้กับ สมาคมฟุตบอลนานาชาติ ซึ่งมีการรับรองเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2434 และมีการใช้กันในช่วงฤดูกาล 1891-92
ในการแข่งขันฟุตบอลจะมีการยิงลูกโทษสองลักษณะคือ ลักษณะแรกการยิงลูกโทษระหว่างการแข่งขัน เกิดจากที่ผู้เล่นในฝ่ายรับทำฟาล์วผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามภายในเขตประตู โดยผู้ที่ยิงลูกโทษจะมีสิทธิยิงได้หนึ่งครั้งโดยเมื่อยิงเสร็จแล้วจะปล่อยให้เกมเล่นต่อตามปกติ ในลักษณะที่สองคือการยิงลูกโทษภายหลังจากหมดเวลาการแข่งขัน และทั้งสองฝ่ายมีคะแนนเท่ากัน จะทำการยิงลูกโทษในการตัดสินผู้ชนะ โดยการยิงลูกโทษลักษณะนี้จะ เริ่มต้นโดยผู้ยิงฝ่ายละ 5 คน สลับกันยิงลูกโทษ โดยถ้าไม่สามารถตัดสินกันได้ให้มีการยิงต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ผู้ชนะ
โกลเดนโกล (Goalden goal) หรือ กฎประตูทอง เป็นกติกาในกีฬาฟุตบอลไว้ตัดสินหาผู้ชนะ ในเกมที่ต้องตัดสินผลแพ้ชนะ และการแข่งขันในเกมเสมอกันในช่วงเวลาปกติ (90 นาที) ปัจจุบันกฎนี้ไม่ถูกใช้ในเกมการแข่งขันของฟีฟ่าอีกต่อไปแล้ว- ถ้าใช้กฎโกลเดนโกล ในช่วงต่อเวลาพิเศษอีกครึ่งละ 15 นาทีนั้น ถ้าทีมไหนยิงประตูได้ก่อน ทีมนั้นจะชนะไปเลยโดยไม่ต้องแข่งขันต่อ แต่ถ้ายังยิงประตูกันไม่ได้จนหมดเวลา ก็จะเข้าสู่ช่วงยิงลูกโทษเพื่อหาผู้ชนะ- กฎนี้ถูกคิดขึ้นโดยฟีฟ่าใน ค.ศ. 1993 โดยใช้แทนคำว่า "ซัดเดน เดธ" (sudden death) เนื่องจากมีความหมายที่ค่อนข้างไปในทางลบ กฎนี้ถูกใช้ครั้งแรกในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป ปี 1996 และฟุตบอลโลก 1998- การแข่งขันครั้งแรกที่มีการยิงโกลเดนโกลคือ นัดระหว่างออสเตรเลียกับอุรุกวัย ในเดือนมีนาคม 1993 ในรอบก่อนรองชนะเลิศของการแข่งขันฟุตบอลเยาวชนโลก สำหรับการแข่งขันสำคัญที่ตัดสินกันด้วยโกลเดนโกลคือรอบชิงชนะเลิศของยูโร 1996 โดยโอลิเวอร์ เบียร์ฮอฟฟ์ ผู้เล่นของเยอรมนี ยิงโกลเดนโกลเอาชนะสาธารณรัฐเช็ค- กฎโกลเดนโกลมีจุดหมายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเล่นแบบรวดเร็วและชาญฉลาด และหลีกเลี่ยงการตัดสินด้วยจุดโทษ แต่ได้รับเสียงวิจารณ์ว่าทำให้ทีมเล่นฟุตบอลแบบเน้นการป้องกันมากขึ้น เพื่อลดโอกาสความพ่ายแพ้- ใน ค.ศ.?2002 ยูฟ่าได้นำกฎซิลเวอร์โกลมาใช้แทน โดยจะคล้ายกับกฎโกลเด้นโกล แต่จะไม่หยุดเกมเมื่อมีทีมยิงประตูได้ โดยจะเล่นจนจบครึ่งแรกของการต่อเวลาพิเศษแทน- ในปี 2004 ทางฟีฟ่าได้ยกเลิกกฎโกลเดนโกลหลังการแข่งขันยูโร 2004ที่ประเทศโปรตุเกส

ใบแดงในกีฬาฟุตบอลนั้น จะแสดงโดยผู้ตัดสินต่อผู้เล่น (หรือแม้กระทั่งผู้จัดการทีม) ที่ทำผิดกฏ กติกาการแข่งขัน โดยใบแดงเป็นสัญลักษณ์ของการไล่ออกจากสนาม ใบแดงนั้นมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดไม่ใหญ่นัก (ประมาณว่าสามารถใส่ในกระเป๋าเสื้อได้) ใบแดงจะเป็นกระดาษที่มีสีแดงทั้ง 2 ด้านตามชื่อวิธีแจกใบแดงของกรรมการคือ ในระหว่างการแข่งขัน ถ้ามีการฟาวล์เกิดขึ้น กรรมการจะเป่านกหวีดหยุดเกมชั่วคราว ถ้ากรรมการเห็นว่าการฟาวล์นั้น เป็นการทำผิดกติกาอย่างจงใจหรือทำฟาวล์อย่างรุนแรง กรรมการจะเรียกนักเตะคนนั้นมาหาตน จากนั้นกรรมการจะชูใบแดงขึ้น ถือว่าผู้เล่นนั้นได้รับใบแดงแล้ว และจะต้องออกจากสนามแข่งขัน การได้รับใบแดงนั้น อาจเป็นการได้รับใบแดงโดยตรง จากการกระทำผิดรุนแรง หรืออาจเป็นการถูกตักเตือน (ใบเหลือง) สองครั้งในการแข่งขันนัดเดียวกันถ้าผู้เล่นได้รับใบแดงก่อนการเริ่มเล่น สามารถส่งผู้เล่นสำรองทดแทนได้ แต่หากผู้เล่นถูกไล่ออกหลังจากเกมเริ่มแล้ว จะต้องออกจากสนาม และฝ่ายของผู้เล่นที่ถูกใบแดงจะมีผู้เล่นลดลง 1 คน (คือไม่สามารถส่งผู้เล่นลงแทนผู้เล่นที่ถูกใบแดงได้)

ฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย


ฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย

ประเทศไทยมีการจัดฟุตบอลอาชีพหลักคือ คือ ไทยลีกจัดการโดยสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย โดยในอดีตได้มีการแข่งขันโปรลีกจัดการโดยการกีฬาแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นการแข่งขันของทีมจากหลายภูมิภาคในประเทศไทยสำหรับทีมที่ชนะเลิศในไทยลีกจะมีสิทธิเข้าร่วมการแข่งขัน เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ที่เป็นการแข่งขันระดับทวีปเอเชีย และทีมที่ชนะในลีกนี้ก็จะมีสิทธิเข้าร่วมเล่นใน ฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ ซึ่งเป็นการแข่งขันของทีมสโมสรในระดับโลก ในขณะเดียวกันทีมรองชนะเลิศจากไทยลีกจะไปร่วมเล่นใน เอเอฟซีคัพ

เจ้าภาพการแข่งขัน

ประเทศไทย ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลในระดับนานาชาติหลายครั้ง ได้แก่เอเชียนคัพ - เจ้าภาพ 2 ครั้ง - 1972, 2007 (เจ้าภาพร่วม)ฟุตบอลเอเชียเยาวชน - เจ้าภาพ 10 ครั้ง - โดย 9 ครั้งจัดที่กรุงเทพ และ 1 ครั้งจัดที่เชียงใหม่ - 1961, 1962, 1967, 1969, 1972, 1974, 1976, 1980, 1982, 1998 (เชียงใหม่)ฟุตบอลโลกหญิงเยาวชน - เจ้าภาพ 1 ครั้ง - 2004ฟุตบอลเอเชียหญิง - เจ้าภาพ 2 ครั้ง - 1983, 2003นอกจากนี้ยังมีการแข่งขันกีฬาที่สำคัญโดยมีการแข่งขันฟุตบอลร่วมด้วยเช่นใน เอเชียนเกมส์ และ ซีเกมส์ และยังมีการแข่งขันที่จัดขึ้นเป็นรายปีเช่น คิงส์คัพ ที่มีการเชิญทีมชาติอื่นมาร่วมเล่น

สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย



สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย(THE FOOTBALL ASSOCIATION OF THAILAND)

มีวิวัฒนาการตามลำดับต่อไปนี้

พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งสมาคมฟุตบอลแห่งสยามขึ้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน พุทธศักราช 2459 และตราข้อบังคับขึ้นใช้ในสนามฟุตบอลแห่งสยามด้วยซึ่งมีชื่อย่อว่า ส.ฟ.ท. และเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า "THE FOOTBALL ASSOCIATION OF THAILAND UNDER THE PATRONAGE OF HIS MAJESTY THE KING" ใช้อักษรย่อว่า F.A.T. และสมาคมฯ จัดการแข่งขันถ้วยใหญ่และถ้วยน้อยเป็นครั้งแรกในปีนี้ด้วย
พ.ศ. 2468 เป็นภาคีสมาชิกสมาพันธ์ฟุตบอลระหว่างชาติ เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พุทธศักราช 2468ชุดฟุตบอลเสือป่าพรานหลวง ได้รับถ้วยของพระยาประสิทธิ์ศุภการ (เจ้าพระยารามราฆพ) ซึ่งเล่นกับชุดฟุตบอลกรมทหารรักษาวัง เมื่อ พ.ศ. 2459-2460 ได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์ โดยชนะ 2 ปีติดต่อกันชุดฟุตบอลสโมสรกรมหรสพ ได้รับพระราชทาน "ถ้วยใหญ่" ของสมาคมฟุตบอลแห่งสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2459
พ.ศ. 2499 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ ครั้งที่ 3 และเรียกว่าข้อบังคับ ลักษณะปกครองสมาคมฟุตบอลฯ ได้สิทธิ์ส่งทีมฟุตบอลชาติไทยเข้าร่วมการแข่งขัน "กีฬาโอลิมปิก" ครั้งที่ 16 นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยมีสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2499 ณ นครเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย
พ.ศ. 2500 เป็นภาคีสมาชิกสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย ซึ่งมีชื่อย่อว่า เอเอฟซี และเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า "ASIAN FOOTBALL CONFEDERATION" ใช้อักษรย่อว่า A.F.C.
พ.ศ. 2501 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับลักษณะปกครอง ครั้งที่ 4
พ.ศ. 2503 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับลักษณะปกครอง ครั้งที่ 5
พ.ศ. 2504-ปัจจุบัน สมาคมฟุตบอลฯได้จัดการแข่งขันฟุตบอลถ้วยน้อย และถ้วยใหญ่ ซึ่งภายหลังได้จัดการแข่งขันแบบเดียวกันของสมาคมฟุตบอลอังกฤษคือจัดเป็นประเภทถ้วยพระราชทาน ก, ข, ค, และ ง และยังจัดการแข่งขันประเภทอื่นๆ อีกเช่น ฟุตบอลนักเรียน ฟุตบอลเตรียมอุดม ฟุตบอลอาชีวะ ฟุตบอลเยาวชนและอนุชน ฟุตบอลอุดมศึกษา ฟุตบอลเอฟเอ คัพ ฟุตบอลควีส์ คัพ ฟุตบอลคิงส์คัพ เป็นต้น ฯลฯ นอกจากนี้ยังได้จัดการแข่งขันและส่งทีมเข้าร่วมกับทีมนานาชาติมากมายจนถึงปัจจุบัน
พ.ศ. 2511 สมาคมฟุตบอลได้สิทธิ์ส่งทีมฟุตบอลชาติไทยเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พุทธศักราช 2511 ณ ประเทศเม็กซิโก
พ.ศ. 2514 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับลักษณะปกครอง ครั้งที่ 6 ชุดฟุตบอลทีมชาติไทย ชุดแรกที่เดินทางไปแข่งขัน "กีฬาโอลิมปิก" ครั้งที่ 16 ณ นครเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2499
พ.ศ. 2531 สมาคมฟุตบอลฯ ได้มีโครงการจัดการแข่งขันฟุตบอลภายในประเทศ รวมทั้งเชิญทีมต่างประเทศเข้าร่วมแข่งขัน และส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันในต่างประเทศตลอดปี